1. HOME
  2. Blog
  3. 未分類
  4. タイの日本語学校事情_タイ語版

BLOG

ブログ

未分類

タイの日本語学校事情_タイ語版

タイの日本語学校事情_タイ語版

ประวัติศาสตร์ของภาษาถิ่นฮอกไกโดซึ่งมีพื้นที่กว้างใหญ่ มีจุดเด่นที่การพัฒนามาตามพื้นที่ หากเป็นพื้นที่ด้านในก็จะเป็นภาษาถิ่นของด้านใน พื้นที่ติดทะเลก็จะเป็นภาษาถิ่นเอกลักษณ์ของแถบชายหาด ยกตัวอย่างอย่างชัดเจน เช่น ในภาษาญี่ปุ่น การทิ้งของจะใช้ว่า “โกมิบาโกะนิซุเทเทะคุดาไซ” (กรุณาทิ้งลงถึงขยะ) แต่ฮอกไกโดจะใช้ “โกมิบาโกะนินาเกเทะคุดาไซ” (กรุณาปาลงถังขยะ) ผุ้ที่เรียนภาษาญี่ปุ่นอยู่และเคยมาฮอกไกโด อาจจะเคยสับสนบ้าง คนที่เข้าใจว่าคำว่า “จบบินคารุ” หมายถึง “คากิโอะคาเครุ” (ล็อคกุญแจ) คงมีน้อยมาก อาหารเน่าเสีย ฮอกไกโดใช้ว่า “อะเมรุ” ซึ่งดูเหมือนอะไรหวานๆซักอย่าง (อะเมะ แปลว่า ลูกอม) แต่ความหมายแตกต่างโดยสิ้นเชิง การนั่ง ฮอกไกโดใช้ว่า “โอจจังโคซุรุ” ดูเหมือนมีคุณลุงอยู่ที่ไหน (อจจัง แปลว่า ลุง) ส่วน “ชันโตะโอจจังโคชินาไซ” แปลว่า “ชันโตะเซซะชินาไซ” (นั่งบนส้นเท้าให้ดีๆ) หากจะบอกว่า วันนี้หนาว สำเนียงฮอกไกโดจะใช้ว่า “เคียววะชิบาเรรุ” คนที่เคยไปฮอกไกโดตอนหน้าหนาวน่าจะเข้าใจ ฮอกไกโดในฤดูหนาวนั้นหนาวมาก ซึ่งมันหนาวยิ่งกว่าจะบรรยายด้วยคำว่าหนาวได้ คำว่า ชิบาเรรุ จึงเหมาะกับการบรรยายความหนาวระดับที่แทบแข็งได้พอดี (คันจิของชิบาเรรุแปลว่าแข็งได้) คำว่า น่ารัก ฮอกไกโดจะใช้ว่า “เมงโค่ย” พวกคุณปู่คุณย่ามักจะพูดชมหลานว่า “เมงโค่ย เมงโค่ย” ถ้าย่อสั้นๆจะเป็น “เมงโคะ เมงโคะ” ซึ่งความหมายเหมือนกัน ที่โรงเรียนภาษาญี่ปุ่น จะสอนภาษากลางที่ใช้ในญี่ปุ่นแผ่นดินใหญ่ ดังนั้นชาวต่างชาติที่เรียนภาษาญี่ปุ่น เมื่อออกท่องเที่ยวตามท้องถิ่น อาจจะตกใจกับจำนวนอันมากมายของภาษาถิ่นของญี่ปุ่นได้ สำเนียงฮอกไกโดอาจจะมีภาษาเขียนที่ใกล้เคียงกับภาษากลางที่สอนในโรงเรียนภาษาญี่ปุ่น แต่เสียงสูงต่ำจะแตกต่างเป็นอย่างมาก กล่าวได้ว่าสื่อสารกันยากเพราะจังหวะคำไม่เหมือนกัน เช่นในสำเนียง ซือซือเบ็น จะทำให้คำอย่าง ชิ กับ ซุ จิ กับ ทสึ และ จิ กับ ซุ แยกไม่ออกและฟังได้ยาก อิ กับ เอะ ก็แยกแทบไม่ออกเช่นกัน อีกจุดเด่นของสำเนียงฮอกไกโดคือคำลงท้าย “ไก๊ ดะ โชะ” การใส่คำลงท้าย “ดะเบะซะ” ตอนถามคู่สนทนาก็มีไม่น้อย คนฮอกไกโดเข้าหาได้ง่ายแต่จะไม่ค่อยพูด แต่จะใช้การใส่คำลงท้ายเพื่อแสดงให้คู่สนทนาเข้าใจว่าใส่ใจอยู่ เช่น ในขณะถาม ซึ่งจะสื่อถึงความสนิทสนมได้ด้วย คนญี่ปุ่นเริ่มเข้าสู่ฮอกไกโดในสมัยเมจิ ซึ่งต้องต่อสู้ทั้งความหนาวเย็นและการผลิตอาหารอย่างยากลำบาก ทำให้จิตวิญญาณที่รักบ้านเกิดและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แสดงออกมาโดยการใช้คำลงท้ายในขณะพูดกับคู่สนทนาเช่นนี้

  • Comment ( 0 )

  • Trackbacks are closed.

  1. No comments yet.

Related posts